PAPER SIZE ขนาดกระดาษ

การออกแบบงานควรคำนึงถึงขนาดกระดาษ ที่เราจะนำมาใช้ด้วย ไม่ใช่ว่าออกแบบตามใจฉัน ขนาดงานเมื่อเอามาพิมพ์ลงกระดาษจริงแล้ว ดันเหลือพื้นที่ที่ต้องตัดทิ้งไปไม่เกิดประโยชน์ เสียดายเงินครับ หลักที่ควรคำนึงในการออกแบบงานสิ่งพิมพ์อย่างหนึ่งก็คือ การใช้พื้นที่ของกระดาษให้คุ้มค่า วิธีการคำนวนพื้นที่การใช้งานกระดาษให้คุ้มค่า เดี๋ยวจะมาบอกให้ทราบกันในบทความเรื่อง การวาง Layout งาน แต่ตอนนี้เรามาดูเรื่องขนาดกันก่อนดีกว่า

นาดกระดาษที่ใช้ในงานพิมพ์ จะเป็นขนาดที่ตัดจากกระดาษแผ่นใหญ่ โดยขอแบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่ที่ใช้อยู่เป็นประจำ คือ

1. ขนาดกระดาษแบบ "ตัด"
จะเรียกตามชิ้นส่วนที่ตัดออกมา ตัด 2, ตัด 4, ตัดโน่นตัดนี่ ตามขนาดดังต่อไปนี้

ตัด 2 = (30 ¾ ×21 3/8 inch)
ตัด 2 พิเศษ = (31×17 inch) หรือ (31×25 ½ inch)
ตัด 3 = (31×14 ¼ inch)
ตัด 4 = (21 ½ ×15 ½ inch)
ตัด 5 = (12 ½ ×17 ½ inch), (13 ½ ×17 ½ inch), (11×17 ½ inch), (18×11 inch)
ตัด 6 = (14 ¼ ×15 ½ inch)
ตัด 7 = (9×16 ¾ inch)
ตัด 8 = (10 ¾ ×15 ½ inch)
ตัด 9 = (10 ¼ ×14 ¼ inch)
ตัด 10 = (8 ½ ×15 ½ inch)
ตัด 11 = (8 ½ ×13 ½ inch)
ตัด 13 = (8 ½ ×11 inch)
ตัด 14 = (6 1/8 ×15 ½ inch)
ตัด 15 = (10 ¼ ×8 ½ inch)
ตัด 16 = (7 ¾ ×10 ¾ inch)
ตัด 18 = (7 1/8×10 ¼ inch)
ตัด 20 = (8 1/8×7 ¾ inch), (6 1/8×10 ¾ inch)
ตัด 21 = (6 1/8×10 ¼ inch)
ตัด 22 = (3 ¼ ×15 ½ inch), (13 ½ ×14 ½ inch)
ตัด 24 = (7 1/8×7 ¾ inch)
ตัด 25 = (6 1/8×8 ½ inch)
ตัด 26 = (4 ¼ ×11 inch)
ตัด 28 = (6 1/8×7 ¾ inch), (10 ¾ ×4 ¼ inch)
ตัด 30 = (8 ½ ×5 ½ inch), (10 ¼ ×4 ¼ inch)
ตัด 32 = (7 ¾ ×5 ¼ inch)
ตัด 35 = (4 ¼ ×8 ½ inch)
ตัด 36 = (7 1/8 ×5 ¼ inch)

เห็นมั๊ย ตัดกันจนอ้วกกันไปข้างนึง

2. ขนาดกระดาษตระกูล "A"

ที่เรารู้จักกันดีในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ A4 คราวนี้ลองไปดูกันว่าเค้าว่าไงมั่งเกี่ยวกับกระดาษพวกนี้

ISO 216 เป็นข้อกำหนดมาตรฐานสากลของ ISO ว่าด้วยขนาดกระดาษ ที่ใช้กันหลายประเทศในปัจจุบัน ซึ่งรวมไปถึงขนาดกระดาษที่คนรู้จักและนิยมใช้กันมากที่สุดคือ A4 มาตรฐานสากลนี้มีพื้นฐานมาจากสถาบันเยอรมันเพื่อการมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมนี มาตรฐานรหัส 476 (DIN 476) ในปี พ.ศ. 2535

รูปแบบกระดาษชนิด A
รูปแบบกระดาษชนิด A มีอัตราส่วนสัมบูรณ์ 1 : √2 ซึ่งทอนทศนิยมให้ใกล้เคียงที่สุดในหน่วยมิลลิเมตร เริ่มตั้งแต่ A0 กำหนดไว้ว่ามีขนาด 1 ารางเมตร ซึ่งทำให้เกิดขนาดกระดาษขนาดอื่นตามมา (A1, A2, A3, ฯลฯ) ซึ่งขนาดที่นิยมใช้มากที่สุดคือ A4 (210 × 297 มม.)


ขนาดต่าง ๆ ใน
ISO 216
(มม × มม)
ชนิด A
A0 841 × 1189
A1 594 × 841
A2 420 × 594
A3 297 × 420
A4 210 × 297
A5 148 × 210
A6 105 × 148
A7 74 × 105
A8 52 × 74
A9 37 × 52
A10 26 × 37

ชนิด B
B0 1000 × 1414
B1 707 × 1000
B2 500 × 707
B3 353 × 500
B4 250 × 353
B5 176 × 250
B6 125 × 176
B7 88 × 125
B8 62 × 88
B9 44 × 62
B10 31 × 44

แถมให้อีกหน่อย

ขนาดต่าง ๆ ใน
ISO 269
(มม × มม)
ชนิด C
C0 917 × 1297
C1 648 × 917
C2 458 × 648
C3 324 × 458
C4 229 × 324
C5 162 × 229
C6 114 × 162
C7/6 81 × 162
C7 81 × 114
C8 57 × 81
C9 40 × 57
C10 28 × 40
DL 110 × 220

ความแตกต่างระหว่างชนิด A, B, C
ขนาดกระดาษตามมาตรฐาน ISO/DIN ในขนาด มิลลิเมตร และ นิ้ว









ขนาดของเครื่องพิมพ์ offset

ครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท โดยทั่วไปมีหลักการเดียวกัน คือ ประกอบด้วยโมแม่พิมพ์ โมยางและโมพิมพ์ ที่โมแม่พิมพ์จะมีระบบการให้น้ำและต่อเพลทอยู่ การถ่ายทอดภาพ เกิดจากโมแม่พิมพ์ได้รับหมึก แล้วถ่ายทอดภาพให้โมยาง จากนั้นโมยางจึงถ่ายทอดภาพให้กับกระดาษหรือวัสดุที่ใช้พิมพ์ ในการถ่ายทอดภาพจากโมหนึ่งไปยังโมหนึ่งจะต้องใช้แรงกดน้อยที่สุด

ออฟเซ็ทเล็ก
เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก พิมพ์กระดาษได้ขนาด 10 * 15 นิ้ว ถึงขนาด 13 * 17 นิ้วโดยประมาณ เครื่องชนิดนี้มีอุปกรณ์ประกอบในการทำงานน้อยไม่ยุ่งยาก ใช้ง่าย เหมาะสำหรับงานพิมพ์ขนาดเล็ก เช่น หัวจดหมาย หนังสือเวียนแผ่น โฆษณาเผยแพร่เล็ก ๆ ไม่เหมาะสำหรับงานพิมพ์สอดสี หรือ สี่สี เพราระบบฉากยังไม่มีความเที่ยงตรงดีพอ



ขนาดตัดสี่
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ขนาดใหญ่กว่าออฟเซ็ดเล็ก สามารถพิมพ์ได้ขนาดประมาณ 15 * 21 นิ้ว หรือ 18 * 25 นิ้ว มีอุปกรณืช่วยในการพิมพ์มากขึ้นและระบบน้ำดีขึ้นกว่า สามารถพิมพ์งานได้เกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสีเดียวหรือหลายสีก็ตาม เหมาะสำหรับพิมพ์หนังสือยกเป็นเล่ม ภาพโปสเตอร์ขนาดกลาง งานพิมพ์ทั่วไป และงานพิมพ์ที่มีจำนวนพิมพ์ไม่มากนัก เช่น ครั้งละไม่เกิน 5,000 ชุด ถ้าเป็นการพิมพ์จำนวนมาก ๆ แล้ว จะเป็นการเสียเวลา เพราะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถลงพิมพ์ได้คราวละหลาย ๆ แบบได้ เครื่องพิพม์ขนาดนี้นิยมใช้ทั่วไปในท้องตลาด ถ้าพิมพ์หนังสือยก จะพิมพ์ขนาด 8 หน้ายกได้ ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดของเครื่องพิพม์ การที่เรียกเครื่องพิมพ์ขนาดตัดสี่นั้น เพราะใช้กระดาษขนาด 15.5 * 21.5 นิ้ว ที่เกิดจากการแบ่งกระดาษขนาดใหญ่ 31 * 43 นิ้ว เป็นสี่ส่วนได้พอดี ซึ่งเมื่อนำกระดาษขนาดนี้ไปพิมพ์และพับเป็นเล่มแล้ว จะได้หนังสือที่มีขนาดเล็กเรียกว่า 8 หน้ายก



ขนาดตัดสอง
เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดตัดสี่เกือบเท่าตัว กล่าวคือ สามารถพิมพ์ได้ 25 * 36 นิ้ว หรือบางแม่พิมพ์ สามารถพิมพ์ขนาด 28 * 40 นิ้วได้ เหมาะสำหรับใช้พิพม์งานทางการค้าทั่วไป เช่น หนังสือยก โปสเตอร์ขนาดใหญ่ แผ่นโฆษณา และงานพิมพ์ทุกชนิด เนื่องสามารถพิมพ์ได้ขนาดใหญ่ จึงสามารถลงแบบที่จะพิมพ์ได้คราวละหลาย ๆ แบบ และสามารถตัดซอยเป็นแบบที่ต้องการได้ภายหลัง ทำให้ประหยัดเวลาในการพิมพ์ เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดที่นิยมใช้กันทั่วไป มีอุปกรณ์ประกอบในการช่วยพิมพ์ดีฉากพิมพ์แม่นยำ และความเร็วสูง



ขนาดตัดหนึ่ง
เป็นเครื่องพิมพ์ ชนิดป้อนแผ่นขนาดใหญ่ที่สามารถ พิมพ์กระดาษ 30 * 40 นิ้ว หรือโตกว่าได้ มีอุปกรณ์ช่วยในการพิมพ์มากขึ้น ส่วนมากใช้ในการพิมพ์หนังสือ โปสเตอร์ และบรรจุภัณฑ์ ที่มีปริมาณการพิมพ์มาก ๆ มีใช้น้อยกว่าขนาดสี่ตัด และขนาดสองตัด ในปัจจุบันจัดได้ว่าระบบการพิมพ์ ออฟเซ็ต เป็นระบบงานพิมพ์ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด เพราะให้คุณภาพของงานพิมพ์ที่สูง และราคาไม่สูงมาก เหมาะสำหรับใช้พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ทั้งหนังสือที่ต้องการสีเดียวและสี่สี

หลักในการพิมพ์ offset (Offset Printing)

ลักของการพิมพ์ offset คือ น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสอง ส่วนคือ บริเวณที่ไม่มีภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึก

หน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์
1. ส่วนที่ไร้ภาพและรับน้ำ จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหรือความชื้น และผลักดันหมึกให้ออกนอกบริเวณ
2. ส่วนที่เป็นภาพจะทำหน้าที่รับหมึกและผลักดันน้ำมันออกนอกบริเวณของตน ซึ่งในแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ ๆ แตกต่างกัน



หลักในการถ่ายทอดภาพของเครื่องพิมพ์ออฟเซต
ออฟเซตเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปในระบบ 3 โม คือ
1. โมแม่พิมพ์
2. โมผ้ายาง
3. โมแรงกด
พร้อมด้วยระบบทำความชื้นและระบบการจ่ายหมึกให้แก่แม่พิมพ์ เมื่อมีการเคลื่อนไหว แม่พิมพ์จะหมุนไปรับน้ำ หรือ ความชื้น แล้วจึงหมุนไปรับน้ำ แล้วจึงไปรับหมึก เมื่อแม่พิมพ์รับหมึกในบริเวณภาพ แล้วจะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โมผ้ายาง แล้วจึงถ่ายลงวัสดุพิมพ์ โดยมีโมกดพิมพ์รองรับอยู่ เป็นระบบการพิมพ์ทางอ้อม

ประโยชน์ของการพิมพ์ทางอ้อม
1. ในการพิมพ์ภาพลงสู่ผ้ายาง ผิวของผ้ายางมีความอ่อนนุ่ม จึงสามารถแนบกระชับกับผิวของของกระดาษที่เป็นแอ่งและขรุขระได้ดี
2. ผ้ายางจะไม่ทำให้ตัวของแม่พิมพ์ชำรุด เหมือนกับการพิมพ์ทางตรง
3. สะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของภาพ และข้อความบนแม่พิมพ์เพราะเป็นตัวตรง ไม่ใช่ตัวกลับอย่าง เลตเตอร์เพลส ซึ่งตรวจสอบได้ยาก

Color Mode : โหมดสี








โหมดสี RGB คืออะไร
ย่อมาจาก Red Green Blue แสงสีขาวจากธรรมชาติหรือแสงจากดวงอาทิตย์ เกิดจากการผสมสีของแม่สีสามสีคือ แดง เขียวและน้ำเงิน ซึ่งเหมือนกับสีที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งโหมดสี RGB นี้ เหมาะสำหรับการนำภาพไปเป็น ฟิล์มสไลด์/เนกาตีฟ

โหมดสี CMYK คืออะไร

ย่อ มาจาก Cyan Megenta Yellow Black เป็นลักษณะโหมดสีที่ใช้ในการสิ่งพิมพ์ ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) key (ดำ) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ

โหมดสี Index คืออะไร
โหมด สีที่เหมาะสำหรับการทำภาพบน web โดยจะมีความละเอียดของสีไม่เกิน 256 สี ทุกครั้งที่คุณแปลงภาพจากโหมดสีอื่นๆ มาเป็น Index โปรแกรมจะทำการตรวจสอบรหัสสีที่ได้ โดยถ้าค่าสีใดไม่มีจะถูกแปลงเป็นสีใกล้เคียงให้อัตโนมัติ ดังนั้นภาพที่ได้จะให้ความสวยงามที่ใกล้เคียงของเดิม และทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงด้วย

คืออยากรู้ว่าค่าสี RGB, CMYK, La*b* ,XYZ และ xyz ต่างกันยังไง แล้วมันคืออะไร

ค่าสี RGB และ CMY(K) เป็นค่าสีที่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ เช่นถ้าเป็น RGB ค่าสีก็จะขึ้นอยู่กับอุปรณ์ประเภท
จอมอนิเตอร์ โปรเจคเตอร์ ที่แสดงสีจากหลอดภาพแสงRGB ซึ่งถูกกำหนดค่าให้เป็น 0-255 ถ้าเป็น CMKY
ก็จะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ ประเภทปริ๊นเตอร์หรือ เครื่องพิมพ์ สีที่เกิดขึ้น มาจากจุดสีที่ มาก-น้อย
ของหมึกพิมพ์ สามารถวัดค่าได้ผ่านฟิลเตอร์เป็นค่าdensity 0-100

สำหรับค่าสี XYZ เป็นค่าสีกลางที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ (เกิดจากการทดลองของ International Commission on Illumination (Commission Internationale d'Eclairage, hence its CIE initialism))
เป็นฟังก์ชั่นที่ตอบสนองต่อการรับรู้ของตามนุษย์ และค่าสี XYZ ก็จะถูกคำนวณให้เป็น Lab

เคยสังเกตุมั้ยว่า ทำไมสีดำ (K) ของหมึกพิมพ์ InkJet ถึงไม่ดำสนิท
ใน งานพวกสิ่งพิมพ์ การเกิดสี เกิดจากการผสมสี ทั้งหมด 4 สี ถึงจะเกิดภาพทุกสี ซึ่งก็คือ CMYK และหน้าที่ของ K เวลาผสมสีในงานสิ่งพิมพ์ ก็คือ ทำให้ภาพชัดขึ้น และมีมิติ ในกรณีที่ K เป็นดำสนิทแล้ว เวลาผสมกับสีอื่น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ผลของการผสมสีจะเป็นสีดำ ซึ่งถ้าดำสนิทแล้ว ผสมสีอื่นจะเป็นสีดำ ฉะนั้น K ในงานสิ่งพิมพ์จะไม่ดำสนิท ส่วนถ้าอยากให้พิมพ์เป็นสีดำ เครื่องพิมพ์ เทสี K ทั้งหมด ก็จะออกไม่ดำสนิท ฉะนั้น สีดำ ก็เกิดจากการผสมสีของ CMYK แต่จะมี K มากหน่อย อันนี้อาจจะเป็นเหตุผลว่า (ส่วนตัวครับ) ในงานสิ่งพิมพ์แล้ว ทำไมไม่ใช้สัญญลักษณ์สีดำ ด้วย B ทำไมถึงใช้สีดำ ด้วย K ก็เพราะว่า มันไม่ดำสนิทนี่เอง

ที่มา
http://www.it-guides.com/lesson/pshop_04.html
http://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสี_CMYK
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=ete30kmutt&id=339
http://inkmedias.blogspot.com/2007/09/k-inkjet.html

Spec Computer ที่ใช้ทำงาน

ารรอคอยนี่มันช่างทรมานจริง ๆ โดยเฉพาะตอนรอคอมฯ render ภาพงานที่หนัก ๆ ฉะนั้นประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งาน ต้องแรงในระดับหนึ่ง ปัจจุบันราคาก็ถูกลงมามาก ด้วยงบที่ไม่สูงนักก็ได้คอมดี ๆ แรง ๆ มาใช้แล้ว ส่วนจะมีงบเท่าไหร่ซื้อได้ในระดับไหน ลองดูข้อมูลดังต่อไปนี้ประกอบการตัดสินใจครับ

ขอบคุณข้อมูลจากคุณ G27 บอร์ด HardcoreGraphic

--------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : คอมที่แนะนำมาใช้ Window เป็นระบบปฏิบัติการนะครับ ไม่ขอแนะนำ Mac เพราะว่า
Mac มันประกอบตามใจชอบไม่ได้ อีกอย่างอะไหล่ตามร้านทั่วไปก็ไม่มี
Update ราคาถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2551


เริ่มจากทำ Graphic Design งานสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย (ราคาไม่เกิน 15,000 บาท)
เช่น ประกอบหนังสือ ทำป้าย นามบัตร ปกสมุด เขียนภาพประกอบ
อยากจะแนะนำครับว่าไม่ต้องใช้ VGA Card ที่ทรงพลังนักหรอก ไม่รู้จะเอาไปใช้อะไร...
Spec ที่เลือกมา รองรับการ Upgrade ใหม่ 2 ปีครับ

สำหรับงานออฟฟิศ ออกแบบบ้างปะปราย
ค่าย Intel
CPU : Intel Core2Duo E2200 2.20 Ghz 2,900.-
Mainborad : Gigabyte G33M S2L 2,670.-
Memory : 1024/667 KINGSTON 800.-
Harddisk : Maxtor 160 G SATA2 Serial ATA2 2,800.-
VGA : GigaByte GF7200GS 1,700.-
Rom : Lite-On DVD+-R/RW 20x 1,000.-
รวม 11,870.-

ค่าย AMD
CPU : AMD Ath.X2 AM2 4200+ 2.5 GHz 2,480.-
Mainborad : ASUS M2์N 2,400.-
Memory : 1024/667 KINGSTON 800.-
Harddisk : Maxtor 160 G SATA2 Serial ATA2 2,800.-
VGA : GigaByte GF7200GS 1,700.-
Rom : Lite-On DVD+-R/RW 20x 1,000.-
รวม 11,180.-


ต่อมาทำคอมพิวเตอร์ระดับการทำงาน 3D หนัก ใช้การ Render อย่างแรง
ตัดต่อหนัง ทำ DVD สารพัด สารเพ 5555+
จุดนี้อยากให้ทุ่มไปที่ CPU มากเลยนะครับ เพราะมันต้องใช้ในการประมวลผลสูง
สำหรับนักเล่นเกม และทำงานสามมิติ
ค่าย Intel
CPU : Core2 Quad Q6600 2.4 Ghz 8,500.-
Mainborad : Asus P5Q-E 5,630.-
Memory : KingSton 1GB 800MHz DDR2 X3 2,400.-
Harddisk : Seagate ST3500320AS 500 GB 32MB 3,570.-
VGA : ESC GeForce 9800GTX 10,900.-
Rom : Lite-On DVD+-R/RW 20x 1,000.-
รวม 32,000.-

ค่าย AMD
CPU : AMD Phenom 9600 2.3GHz 9,500.-
Mainborad : ASUS M3A32-MVP Deluxe 7,190.-
Memory : KingSton 1GB 800MHz DDR2 X3 2,400.-
Harddisk : Seagate ST3500320AS500 GB 32MB 3,570.-
VGA : ESC GeForce 9800GTX 10,900.-
Rom : Lite-On DVD+-R/RW 20x 1,000.-
รวม 34,560.-

สุดท้ายคอมพิวเตอร์ระดับ Hi-End ผมมีแต่ Intel น่ะ
จริงๆผมชอบ AMD มากกว่าเป็นการส่วนตัวนะ มัน OC ได้เยอะกว่า
มีปัญญาซื้อจริงๆ ก็อย่าซื้อเลยครับ มันสำหรับเป็นเครื่องแม่ข่ายมากกว่า 555+
สำหรับ Hi-End พวกเหลือรับประทาน ที่ทำงาน 3D และตัดต่อหนัง หรือระดับโคตร Server
ค่าย Intel
CPU : Intel Core2 Extreme QX9770 3.20 Ghz X 52,900.-
Mainborad : Asus Striker II Extreme 16,900.-
Memory : Corsair 2048 Twin PC8600 X2 26,500.- (8 GB)
Harddisk : Western WD10EACS 1TB SATA II X2 (Raid 0) 15,800.- (2 TB)
VGA : NVdia Quadro FX 5600 1.5 GB X2 189,000.-
Rom : LG 20X [GAS-E60L] 2,450.-
Sound : Creative Gigaworks THX 7.1 16,900.-
PSU : Coolermaster RP M1000 10,590.-
รวม 331,040.-

--------------------------------------------------------------------------------
งบ 50,000 บาท ไม่รวมจอ หรืออุปกรณ์อื่นนอกจากตัว Case อย่างเดียว...ตอบเหมือนในหนังสือคอมเลย 555+

ใจ ก็อยากให้ซื้อ Mac นะครับ แต่ว่ามันแรงได้ไม่เท่า 555+ ผมมีโอกาสได้เจอเรื่อง Render อยู่เหมือนกัน คือน้องของเพื่อนเขาเรียน Multimedia ที่ มจธ. ทำ 3D Animation 3 นาที เขาบอกว่า Render ไป 29 ชม. ใช้ Spec เครื่องน้องๆที่ผมแนะนำไปน่ะครับที่อยู่ราคา 29,000 กว่าๆน่ะ แต่เปลี่ยน Core 2 Duo 2.4 Ghz

ผมว่ามันโหดจริงๆนะงานอย่างนี้ ผมก็เอาไปนอนคิดทั้งคืน 555+ ลองดูนะครับ

CPU : Intel Core 2 quad Q9350 Yorkfield 2.66 Ghz /
1333MHz / 12 MB / LGA775 ,Part# BX80569Q9450 12,350 บาท

MB : ASUS Striker II Formula LGA 775
NVIDIA nForce 780i SLI ATX Intel Motherboard 11,390 บาท

Ram : Corsair TWIN XMS 2GB (2*1GB/800Mhz) 240-Pin
DDR2 SDRAM DDR2 800 (PC2 6400) Dual Channel Kit X2 4,560 บาท

HD : Seagate ST3500320AS Barracuda 7200.11
SATA 3Gb/s NCQ 500 GB 32MB Cache Hard Drive 3,570 บาท

VGA : ASUS VGA EN9600GT/HTDI/512M
GeForce 9600GT 512MB 256-bit
GDDR3 PCI Express 2.0 x16 HDCP Ready SLI Supported 12,400 บาท

DVD : LG GH22LP 22X Super Multi + Light Scribe ,
Secure Disc IDE 22X (box) Black Color 1,090 บาท

UPS : D-get UPS 800VA White Color 1,730 บาท
รวม 47,090 บาท

สเป็คที่ว่ามา ก็คงแรงกว่าน้องคนนั้นประมาณ 2-3 เท่าน่ะครับ (วัดจาก CPU และ MB)
ด้วย CPU 4 แกน สัญญาณถึง 2.66 พร้อมแคชมหาศาลอีก 12 MB แม่เจ้าไม่อยากคิด จากนั้นก็มาที่ MB สุดแรงของ ASUS ใช้ Chipset ของ NVdia FSB 1333 รองรับถึง DDR3 (ถึงป่าววะ) แต่ก็ยังไม่จำเป็นถึงขั้นนั้น พร้อม Sink ระบายความร้อนขนาดใหญ่ รองรับความเร็วอย่างเต็มที่

มาดูที่ Memory หรือ Ram กันบ้าง ผมใช้ Ram แถวละ 1 GB นะครับ รวมกัน 4 แถว มันเป็นเทคนิคการต่อ รวมทั้งการสนับสนุนการต่ออย่างนี้ของตัวสินค้า มันจะได้ออกมาแรงกว่า Ram 2 GB 2 แถวน่ะครับ พร้อม Bus อีก 800 พระเจ้า จากนั้นมาที่เรื่อง HD ที่ใช้ SATA ก็คงจะรู้ว่ามันเร็วกว่าเดิมนะครับ Buffer ขนาด 12 MB (คอมที่ผมใช้อยู่ตอนนี้ 2 MB) ขนาดความจุที่ 500 GB ครับ

ใน ส่วนสุดท้ายที่จะพูดถึงคือ VGA Card ที่ใช้ระบบ SLi ในการต่อ (ต่อ 2 ตัวพร้อมกัน) รวมๆกันแล้ว Core Clock ของทั้งคู่จะอยู่ประมาณ 1.3 Ghz Memory อยู่ที่ 1 GB มหาศาลพอดู 555+

ก็แค่นี้แหละครับ ราคาจริงทั้งหมดผมคิดว่าน่าจะ Drop ลงไปอีกสัก 3,000-4,000 น่ะครับ

เหมาะสำหรับเล่นเกมด้วยนะครับ 555+

--------------------------------------------------------------------------------

ากจะซื้อกันจริง ๆ ให้ศึกษาราคาและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ Update ที่สุด เผื่อจะได้ประหยัดงบหรือได้เครื่องที่แรงกว่าที่แนะนำไป ลองเช็คดูตามบอร์ดคอมต่าง ๆ ดูนะครับ search ดูใน google นี่แหละ