หากลองดูโดยรวมแล้ว กราฟิกดีไซน์เนอร์ เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง สมัยยังไม่ได้เข้าสู่วงการนี้ เคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่ากราฟิกดีไซน์แต่ละคน ทำไมถนัดงานไม่เหมือนกัน คนนี้เป็นโปรแกรมนี้ คนนี้ถนัดอีกโปรแกรม นั่นสิ ทำไม?

ถึงตอนนี้ผมก็ไม่ทราบชัดเจนว่าแบ่งกันยังไงดี บ้างก็แบ่งตามความถนัดของโปรแกรม หรือจะแบ่งตามลักษณะการทำงาน คิดไปคิดมา ขอแยกประเภทกันง่ายๆ ให้รู้ตัวเองว่าอยู่ฝั่งไหนละกัน

ประเภทของกราฟิกดีไซน์อาจแบ่งได้ 2 ฝั่งใหญ่ๆ ดังนี้

1. มืออาชีพ (Professional)

กลุ่มนี้จะมีทักษะในการทำงานเด่นๆ ดังนี้

  • การใช้โปรแกรมอย่างเชี่ยวชาญ รู้โครงสร้างการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างดี เมื่อรู้โครงสร้างเป็นอย่างดีแล้ว พวกนี้จะสามารถใช้งานโปรแกรมกราฟิกเวอร์ชั่นที่ออกมาใหม่ๆ ได้ เมื่อสามารถใช้โปรแกรมกราฟิกได้ทุกเวอร์ชั่น ก็จะนำจุดดีจุดด้อยของแต่ละเวอร์ชั่นมาประยุกต์ใช้งานได้ บางคนถึงขนาดมีโปรแกรมชื่อเดียวกันแต่มีเกือบทุกเวอร์ชั่นติดเครื่องเอาไว้เลยทีเดียว
  • การประยุกต์ใช้งาน แน่นอนว่าฝั่งมือโปรนี้คงไม่มีใครที่ใช้โปรแกรมเป็นอยู่โปรแกรมเดียวเป็นแน่ พวกนี้จะใช้งานโปรแกรมได้หลายหลาย เพราะรู้โครงสร้างการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่าเหมาะกับการใช้งานในลักษณะไหน สรุปก็คือสามารถนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการสร้างงานได้เป็นอย่างดีนั่นแหละ
  • การแก้ปัญหาได้ทุกรูปแบบ คุณสมบัติข้อนี้ค่อนข้างจะสำคัญ เนื่องจากการทำงานต้องเจอปัญหากันอยู่แล้ว ทั้งจากความต้องการของลูกค้า คอมพัง โปรแกรมเสีย และอีกสารพัดที่เราจะต้องแก้และผ่านมันไปให้ได้ อันนี้ก็ต้องอาศัยประสบการณ์และไหวพริบเป็นหลัก
  • ความสงบนิ่ง ถามคน 100 คน ว่าเคยเจอลูกค้ารุงรังกันบ้างหรือเปล่า หรือหัวหน้างานเรื่องมาก ก็คงตอบกันทั้ง 100 คนนั่นแหละว่า เคยเจอ ในวาระนั้นก็ต้องใช้ความใจเย็นและสงบนิ่ง เพื่อให้สติและปัญญามองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและหาทางรับมือ
  • ความเร็วและถูกต้อง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและงานที่ออกมาดี จึงต้องมีทั้งสองสิ่งนี้อยู่ด้วย เร็วแต่ผิด หรือถูกแต่ช้า ก็ไม่ดี มันต้องมาคู่กัน เร็วและถูก
  • และคุณสมบัติอื่นๆ ที่สร้างงานขึ้นมาให้ได้คุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า


2. ศิลปิน (Artist)

กลุ่มนี้ดูจะคนละขั่วกับฝั่งโปรมีทักษะในการทำงานเด่นๆ ดังนี้
  • จินตนาการ เป็นสิ่งที่มีติดตัวมาหรือจะมาจากการได้เห็นมาเยอะก็ตาม พวกติสก็มีความสามารถด้านนี้โดดเด่นมาก
  • ความอดทนและใจรัก ถ้าไม่มีใจรักก็อดทนต่อการสร้างงานดีๆ ออกมาไม่ได้ และแน่นอนว่าต้องใช้เวลาพอสมควรกว่างานจะออกมาได้แต่ละชิ้น
  • ความชำนาญเฉพาะด้าน เพราะใช้เครื่องมืออันเดิมซ้ำๆ กันจนกลายเป็นแขนเป็นขากันไปแล้ว ชำนาญมากๆ แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้งานโปรแกรมเดิมๆ เครื่องมือเดิมๆ ไม่ค่อยชอบลองของใหม่ อาจจะเป็นเพราะเวลาที่จะเรียนรู้โปรแกรมหรือเครื่องมือใหม่ๆ หมดไปกับการสร้างชิ้นงาน
  • และทักษะอื่นๆ ที่ทำให้งานออกมาประทับใจคนที่พบเห็น

ลองถามตัวเองดูว่าเอียงไปทางด้านไหน หรือบางคนจะควบทั้ง 2 ฝั่งเลยก็ได้ (จะเอาจริงก็เหนื่อยหน่อยนะ) แบ่งแบบนี้คงเห็นภาพกันได้ชัดเจนขึ้นนะครับ

0 comments: