หนังสือ เอกลักษณ์น่าน
เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน
หากลองดูโดยรวมแล้ว กราฟิกดีไซน์เนอร์ เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง สมัยยังไม่ได้เข้าสู่วงการนี้ เคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่ากราฟิกดีไซน์แต่ละคน ทำไมถนัดงานไม่เหมือนกัน คนนี้เป็นโปรแกรมนี้ คนนี้ถนัดอีกโปรแกรม นั่นสิ ทำไม?
ถึงตอนนี้ผมก็ไม่ทราบชัดเจนว่าแบ่งกันยังไงดี บ้างก็แบ่งตามความถนัดของโปรแกรม หรือจะแบ่งตามลักษณะการทำงาน คิดไปคิดมา ขอแยกประเภทกันง่ายๆ ให้รู้ตัวเองว่าอยู่ฝั่งไหนละกัน
ประเภทของกราฟิกดีไซน์อาจแบ่งได้ 2 ฝั่งใหญ่ๆ ดังนี้
1. มืออาชีพ (Professional)
กลุ่มนี้จะมีทักษะในการทำงานเด่นๆ ดังนี้
- การใช้โปรแกรมอย่างเชี่ยวชาญ รู้โครงสร้างการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างดี เมื่อรู้โครงสร้างเป็นอย่างดีแล้ว พวกนี้จะสามารถใช้งานโปรแกรมกราฟิกเวอร์ชั่นที่ออกมาใหม่ๆ ได้ เมื่อสามารถใช้โปรแกรมกราฟิกได้ทุกเวอร์ชั่น ก็จะนำจุดดีจุดด้อยของแต่ละเวอร์ชั่นมาประยุกต์ใช้งานได้ บางคนถึงขนาดมีโปรแกรมชื่อเดียวกันแต่มีเกือบทุกเวอร์ชั่นติดเครื่องเอาไว้เลยทีเดียว
- การประยุกต์ใช้งาน แน่นอนว่าฝั่งมือโปรนี้คงไม่มีใครที่ใช้โปรแกรมเป็นอยู่โปรแกรมเดียวเป็นแน่ พวกนี้จะใช้งานโปรแกรมได้หลายหลาย เพราะรู้โครงสร้างการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่าเหมาะกับการใช้งานในลักษณะไหน สรุปก็คือสามารถนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการสร้างงานได้เป็นอย่างดีนั่นแหละ
- การแก้ปัญหาได้ทุกรูปแบบ คุณสมบัติข้อนี้ค่อนข้างจะสำคัญ เนื่องจากการทำงานต้องเจอปัญหากันอยู่แล้ว ทั้งจากความต้องการของลูกค้า คอมพัง โปรแกรมเสีย และอีกสารพัดที่เราจะต้องแก้และผ่านมันไปให้ได้ อันนี้ก็ต้องอาศัยประสบการณ์และไหวพริบเป็นหลัก
- ความสงบนิ่ง ถามคน 100 คน ว่าเคยเจอลูกค้ารุงรังกันบ้างหรือเปล่า หรือหัวหน้างานเรื่องมาก ก็คงตอบกันทั้ง 100 คนนั่นแหละว่า เคยเจอ ในวาระนั้นก็ต้องใช้ความใจเย็นและสงบนิ่ง เพื่อให้สติและปัญญามองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและหาทางรับมือ
- ความเร็วและถูกต้อง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและงานที่ออกมาดี จึงต้องมีทั้งสองสิ่งนี้อยู่ด้วย เร็วแต่ผิด หรือถูกแต่ช้า ก็ไม่ดี มันต้องมาคู่กัน เร็วและถูก
- และคุณสมบัติอื่นๆ ที่สร้างงานขึ้นมาให้ได้คุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า
2. ศิลปิน (Artist)
กลุ่มนี้ดูจะคนละขั่วกับฝั่งโปรมีทักษะในการทำงานเด่นๆ ดังนี้
- จินตนาการ เป็นสิ่งที่มีติดตัวมาหรือจะมาจากการได้เห็นมาเยอะก็ตาม พวกติสก็มีความสามารถด้านนี้โดดเด่นมาก
- ความอดทนและใจรัก ถ้าไม่มีใจรักก็อดทนต่อการสร้างงานดีๆ ออกมาไม่ได้ และแน่นอนว่าต้องใช้เวลาพอสมควรกว่างานจะออกมาได้แต่ละชิ้น
- ความชำนาญเฉพาะด้าน เพราะใช้เครื่องมืออันเดิมซ้ำๆ กันจนกลายเป็นแขนเป็นขากันไปแล้ว ชำนาญมากๆ แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้งานโปรแกรมเดิมๆ เครื่องมือเดิมๆ ไม่ค่อยชอบลองของใหม่ อาจจะเป็นเพราะเวลาที่จะเรียนรู้โปรแกรมหรือเครื่องมือใหม่ๆ หมดไปกับการสร้างชิ้นงาน
- และทักษะอื่นๆ ที่ทำให้งานออกมาประทับใจคนที่พบเห็น
ลองถามตัวเองดูว่าเอียงไปทางด้านไหน หรือบางคนจะควบทั้ง 2 ฝั่งเลยก็ได้ (จะเอาจริงก็เหนื่อยหน่อยนะ) แบ่งแบบนี้คงเห็นภาพกันได้ชัดเจนขึ้นนะครับ
วารสารวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ เล่ม 11
http://moradoklanna.com
มีหลายคนที่เพิ่งจบใหม่ กำลังต้องการหางานที่ตัวเองรักอยากการเป็น "กราฟิกดีไซน์เนอร์" แน่นอนว่าแหล่งหางานสมัยนี้ก็หนีไม่พ้นหาในเน็ตนี่แหละ ในส่วนของรายละเอียดการรับสมัครงานที่เราหาเจอนั้น โดยส่วนใหญ่จะบอกให้ไปสมัครด้วยตนเองที่บริษัทเลย ทำไมเหรอครับ? นั่นเพราะนายจ้างต้องการสอบถามหรืออาจจะทดสอบงานไปในตัวเลย จะได้รู้ว่าคุณสมบัติตามความต้องการหรือเปล่า
แต่ก่อนจะข้ามไปขั้นตอนนั้น ผมอยากให้ลองอ่านรายละเอียดการรับสมัครที่ประกาศให้ดีเสียก่อน แล้วถามตัวเองว่าตรงตามนั้นหรือเปล่า เพราะถ้าหวังจะแอบเนียนไปสมัคร ทั้งๆ ที่ประกาศไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า "อยากได้คนที่มีประสบการณ์ด้านงานพิมพ์ และใช้งานโปรแกรม Indesign ได้เป็นอย่างดี" แต่ตัวเองเป็น Indesign แค่งูๆ ปลาๆ เคยเปิดโปรแกรมนี้มาแทบนับครั้งได้ หรือเคยใช้งานมาเมื่อนานแล้ว ต้องอาศัยเวลารื้อฟื้นสักระยะ งานนี้ขอบอกไว้เลยครับว่าอาจจะเสียเวลาทั้ง 2 ฝ่ายเลยก็ได้ เสียเวลาเดินทาง เสียค่ารถไปสมัคร ส่วนอีกฝ่ายเสียเวลาถามเจาะข้อมูลเราว่าใช้งานได้หรือไม่
โดยส่วนตัวแล้วเคยมีประสบการณ์สัมภาษณ์งานมาบ้าง เพราะคนที่จะรับเข้ามาทำงานด้วยในทีมเดียวกับเรา ผมจะรู้ว่าคนนั้นใช้การได้หรือไม่ ขอนอกเรื่องสักนิด ผมเองเกิดความรู้สึกว่า การทำงานที่ผ่านมา คนที่เคยร่วมงานกันที่ออกๆ ไปนั้น จะอยู่ไม่นาน เข้ามาแปบๆ ก็ออกไปแล้ว ซึ่งหากลองพินิจดูแล้ว สาเหตุหลักๆ ก็คือ "การไม่มีจิตใจตั้งมั่นในการทำงาน" ทำงานไปวันๆ ไม่มีความกระตือรือล้นในการแสวงหาความก้าวหน้า ถึงตอนออกไปจะใช้คำพูดอ้างเหตุผลอะไรก็ตามแต่ แต่สรุปสั้นๆ ว่า "ไม่มีใจ" แต่ช่วงเวลาที่ทำงานร่วมกันนั้น การสอนองค์ความรู้ต่างๆ ในการทำงาน คนสอนนี่เหนื่อยเหมือนกันนะ กว่าจะเป็นงานนี่ บางทีหลายเดือนเลย งานผมก็ไม่เดิน เพราะมัวแต่สอนงาน ระบบงานก็สะดุดคิดๆ ขัดๆ พอเป็นงานก็ลาออกไป เอ้อ ให้มันได้งี้สิ เลยตัดปัญหาเรื่องนี้ไปด้วยการเติมคำว่า "มีประสบการณ์ในการทำงาน" ลงไปในประกาศรับสมัครด้วยซะเลย
แต่ผลที่ออกมาก็คือ 8 ใน 10 ที่มาสมัครงาน คือประเภท "ขอให้ได้สมัครไว้ก่อน" อย่างงี้ไม่เอาแน่ๆ ครับ ถามว่ารู้ได้ไงว่าเป็นประเภทนี้ ก็ง่ายๆ ครับ สัมภาษณ์ด้วยการถามคำถามเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมนี่แหละครับ คนที่ตอบได้ก็น่าจะโอเค
ด่านที่นายจ้างตั้งไว้ จริงๆ ก็มีไม่กี่ด่านหรอกครับ
ด่านที่ 1 คำถามลองเชิง
สำหรับการรับคนเข้าทำงานสักคนหนึ่ง เราก็ต้องการรู้ว่าคนๆ นั้นทำอะไรได้บ้าง บางคนไม่ผ่านด่านนี้ตั้งแต่คำถามแรกแล้วครับ
เช่น บริษัทหนึ่ง ต้องการรับกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ ที่มีประสบการณ์ในด้านงานพิมพ์ และใช้โปรแกรม Indesign ได้เป็นอย่างดี
---------------------------------------------------
Q: เป็น Indesign มั๊ย?
A: ชะงักไปนิด แล้วตอบว่า "พอเป็นครับ/ค่ะ"
กรณีนี้ก็ไม่ผ่านครับ จังหวะนั้นจะรู้เลยว่า ไม่น่าจะเป็นถึงขนาดใช้งานหรือผ่านประสบการณ์ในการใช้งานมาก่อน เพราะถ้าคนที่เป็นจริงๆ เขาก็ตอบด้วยความมั่นใจครับ ไม่มีชะงัก ก็มีบางคนตอบว่า "พอเป็น" เหมือนกัน แต่ตอบทันทีที่ถาม ไม่ออกอาการชะงักคิด อันคำว่า "พอเป็น" ของบางคนนี่อาจจะอยู่ระดับเทพเลยก็ได้นะ อาจจะพูดถ่อมตัว ก็ต้องพิสูจน์ในด่านต่อไป ส่วนคนที่ตอบว่า "เป็นครับ" ด้วยความมั่นใจ ก็ผ่านข้อนี้ไปได้
---------------------------------------------------
สรุปในด่านแรก : หากต้องการผ่านด่านนี้ เราต้องตอบอย่างมั่นใจไปเลยว่าทำได้ เพราะถ้าทำได้จริงๆ เรื่องคำถามข้อที่ 2 ข้อที่ 3 ต่อไปก็ตอบได้อยู่แล้ว ในขั้นตอนนี้ผู้สัมภาษณ์งานจะเก็บข้อมูลไว้ประเมินผลในใจแล้วว่าความสามารถของผู้สมัครงานอยู่ในระดับไหน
ด่านที่ 2 โชว์ทักษะ
ในขั้นตอนนี้จะเป็นตัวชี้วัดเลยว่าจะอยู่หรือจะไป (บางที่ก็ไม่มีขั้นตอนนี้เนื่องจากในขั้นตอนที่ 1 ได้ยิงคำถามกระหน่ำใส่ผู้สมัครจนพรุนไปเรียบร้อยแล้ว ตอบได้ชัดเจนฉะฉานและฉลาด ก็ผ่านรับเข้าทดลองงาน) การให้ลงมือโชว์ทักษะที่ตัวเองมีนั้น ผู้สมัภาษณ์จะเห็นขั้นตอนการทำงาน การแก้ปัญหาโจทก์ที่วางยาเอาไว้ ดูซิว่าจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ อย่างงานโรงพิมพ์นี่บอกได้เลยว่าการแก้ปัญหานั้นเป็นสิ่งที่ควรมีอยู่กับตัวบ้าง ไม่ใช่มีปัญหานิดๆ หน่อยๆ ก็ต้องให้รุ่นพี่แก้ไขให้ตลอด มันต้องพึ่งพาหาคำตอบด้วยตัวเองบ้าง สบายไปก็ไม่ดีนะ เดี๋ยวจะชิน
ยกตัวอย่าง เอาที่ผมทำมานี่แหละ เห็นมากับตา โดยโจทก์ที่วางไว้ก็ไม่ได้ยากเลย คือ จัดหน้าหนังสือ 5 หน้า โดยให้รูปที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะจัดหน้า แต่รูปก็ไม่ได้สวยเท่าไหร่นะ ต่อมาก็ข้อความที่จะใช้ ให้ไปเป็นไฟล์ Word ต่อมาแอบใจดีนะ ให้ Template งานไปด้วย แถมด้วยมีเน็ตไว้หารูปสวยๆ มาใช้ประกอบงาน ส่วนเวลาไม่กำหนด
แต่... เสียดายที่ 7 ใน 10 ไม่ได้ใช้เน็ตให้เป็นประโยชน์ บางคนถึงขนาดมั่นใจทำไฟล์ใหม่ ไม่ใช้ Template ที่ให้ไปด้วยเลยนะ แต่งานที่ออกมามันก็ผิดอ่ะ แล้วเวลาที่ใช้นี่ งาน 5 หน้าที่ให้จัด ก็ไม่น่าเกิน 1 ชั่วโมง เพราะไม่ได้เป็นงานที่อัดกราฟิกเลย (เพราะไม่ใช่งานหน้าปกหนังสือ โปสเตอร์ หรือแผ่นพับ) แค่ต้องการหน้างานที่ออกมาสวยงามตัวหนังสือจัด tab เรียบร้อย อ่านชัดเจน แค่นั้นแหละ
----------------------------------------------
สรุปด่านที่ 2 วางแผนการทำงานให้เรียบร้อยก่อนค่อยลงมือ ทำงานตามโจทก์ที่กำหนดให้ เพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์และฝีมือลงไปในงานอย่างลงตัว
ถ้าผ่านมาถึงตรงนี้ได้ ที่เหลือก็ไม่น่าจะมีอะไรแล้วครับ
เอาไว้คราวต่อไปจะมาเจาะรายละเอียดในขั้นตอนที่ 2 ให้อ่านกันครับ
เริ่มตรงไหนดี?
การเริ่มต้นที่ดีนั้น มาจากกระบวนการคิดที่เป็นระบบและพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของตนเอง 2 อย่างที่กล่าวมา ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจำไว้ให้มั่นและทำตาม ไม่งั้นในบั้นปลายของการทำงานแต่ละชิ้นคงต้องมีคนกุมขมับเป็นแน่แท้
กระบวนการคิดที่เป็นระบบ
ก็คือ ความสามารถในการคิดว่าอะไรมาก่อนมาหลัง ทำอย่างนี้แล้วผลมันจะออกมาเป็นยังไง และอะไรจะตามมาจากการกระทำนั้น เราเรียกมันว่า "ตรรกะ" แล้วจะทำอย่างไรถึงได้มันมา? จริง ๆ เรามีมันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่ได้ใช้บ่อย ๆ มันเลยทื่อ ๆ ด้าน ๆ แนะนำให้ขุดออกมาลับให้คมเสียก่อน ใช้ให้คุ้นในชีวิตประจำวัน เวลาทำอะไรก็ให้คิดตามไปด้วยว่า ทำอย่างนี้แล้วต่อไปต้องทำอะไรแล้วต่อไปอีกต้องเป็นอย่างไร เมื่อใช้จนคล่องแล้ว เราจะมองเห็นวิธีการหลายหลายหลากที่เราสามารถหยิบมาสร้างงานแต่ละชิ้นได้ ตัวอย่างเช่น ทำอย่างไรถึงจะทำให้รูปถ่ายออกมาเป็นรูปขาวดำ แน่นอนว่ามีคำตอบมากกว่าคำตอบเดียว
พื้นฐานความรู้ความเข้าใจ
สิ่งนี้ควรปรับให้ถูกต้องเที่ยงตรงยิ่ง ๆ ขึ้น เป็นสิ่งที่หาเติมใส่ตัวเองได้เรื่อย ๆ อย่าทำตัวเป็น "น้ำเต็มแก้ว" ไม่งั้นจะย่ำอยู่กับที่ ใครบอกใครเล่าอะไรให้ฟังก็ฟังไปเถอะ เอามาสังเคาระห์แล้วเก็บเกียวทีหลัง มันคงมีบ้างที่เป็นประโยชน์ ไม่รู้ไม่เข้าใจตรงไหน ให้หาคำตอบมาซะ จะถามผู้รู้หรือจะถามในบอร์ดต่าง ๆ ก็ได้ คนใจดีมีเยอะ อย่าปล่อยให้สงสัยค้างคออยู่อย่างนั้นเด็ดขาด เพราะถ้ามันไม่รู้อยู่อย่างนั้น เวลาทำงานอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ในภายภาคหน้า หรือถ้าโชคดีหน่อยก็เจอเลย
จากข้อความที่จั่วหัวอ้างถึงคำว่า "ภาระ" ก็ขอเข้าประเด็นเลยละกัน
ภาระในที่นี้หมายถึง ปัญหาที่คนอื่นต้องมาแก้ไขหลังจากที่รับช่วงต่อจากงานเรา
ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นจากลักษณะนิสัยการทำงานของแต่ละคน การสร้าง Artwork แต่ละชิ้นนั้น วิธีทำก็มีหลากหลาย หากคนทำมีความรู้ความเข้าใจมากพอ ความถูกต้องครบถ้วนของงานจะถูกส่งต่อไปยังผู้ที่รับช่วงต่อจากเราโดยไม่มีปัญหา ผู้ที่รับช่วงต่อจากเราคือ โรงพิมพ์ ร้านยิงฟิล์มทำเพลท ก็จะได้ไม่เซ็งทำงานไม่เครียด มันไม่สนุกหรอกครับกับการที่ต้องมาแก้ไขปัญหาของคนอื่น ว่ามั๊ย?
ตัวอย่างเช่น
- บางงานที่ทำออกมานั้นเมื่อส่งต่อถึงโรงพิมพ์ กลายเป็นว่าต้องทำใหม่ทั้งหมด เนื่องจากความละเอียดของงานนั้นน้อยเกินไปภาพแตกแน่ ๆ ถ้าจะพิมพ์ออกมา
- หรือตัวหนังสือผิดต้องการจะแก้ไข แต่ดันรวม Layer ของงานไปหมดแล้ว
- หรือการสร้างงานจากโปรแกรมแปลก ๆ ที่มีตัวเองใช้เป็นอยู่คนเดียว พอจะแก้ไขทางโรงพิมพ์ก็แก้ให้ไม่ได้เพราะไม่มีโปรแกรมหรือใช้ไม่เป็นเนื่องจากไม่มีใครเขาใช้กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย
การเริ่มต้นงานโดยการคิดวางแผนให้รอบคอบเสียก่อน จะทำให้การทำงานราบรื่นไม่มีปัญหา...
Songkarn Festival in Chiang Mai THAILAND 2007 : สงกรานต์ เชียงใหม่
Posted by Kamin at 6:45 AM Labels: Photoไม่ได้อัพเดทซะนานเลย รู้สึกว่าดองไว้จนเค็มได้ที่ เลยเอาเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่คิดว่าสำคัญสำหรับคนที่ทำงานอยู่ในโรงพิมพ์ ที่จำเป็นต้องทำหนังสือที่พิมพ์ 2 สี แนะนำว่า ควรเลือกสี Cyan และ Magenta เนื่องจากว่า 2 สีนี้ เป็นสีที่แยกออกมาแล้ว หลอกตาให้ดูใกล้เคียงรูป 4 สีมากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจากจะแยกสีออกมาเป็น CM แล้ว เรายังสามารถใช้เทคนิคการเปลี่ยนสีหมึกเวลาพิมพ์ เพื่อให้เกิดความแตกต่างของงานพิมพ์ได้อีกด้วย อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการและประสบการณ์ของแต่ละคนครับว่า จะนึกเอาสีอะไรจับคู่กันแล้วเหมาะเจาะลงตัว
คราวนี้มาดูวิธีจาก Clip ที่ผมทำมาให้ดูกันดีกว่าว่าทำยังไง
ขออภัยหาก Clip เร็วไปหน่อย เนื่องจากยังไม่ชำนาญในการตัดต่อ
รูปตัวอย่างหลังจากที่แยกสีแล้ว ลองเปรียบเทียบกันดูครับ