โปรแกรมที่จำเป็นต้องเป็น


สำหรับโปรแกรมที่เราใช้จัดหน้างาน นับดูหลักๆ ก็มีอยู่ไม่กี่อย่าง แต่เป็นข้อสังเกตว่า เวลาสถานประกอบการแต่ละแห่งนั้น รับสมัครพนักงานกราฟิก จะระบุโปรแกรมที่ต้องใช้ในงานลงไปด้วย แต่ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งครับ ที่ผู้มาสมัครงาน จะเป็นอยู่แค่ไม่กี่อย่าง บางคนเป็นแค่โปรแกรมเดียวด้วยซ้ำ จะพบในลักษณะของ คนที่จบใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน พอใช้เป็นนิดหน่อย แต่เอาเข้าจริงกว่าจะได้งานออกมาแต่ละชิ้นใช้เวลานาน อีกพวกหนึ่งคือ กราฟิกที่ค่อนข้างมีอายุและไม่อัพเดทตัวเองอยู่เสมอ สังเกตได้จากการใช้งานโปรแกรมเวอร์ชั่นเก่าๆ เดิมๆ อย่างเหนียวแน่น ไม่ลองโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ๆ ดู บางคนอ้างว่าใช้ไม่เป็น ก็งงอยู่เหมือนกันว่า ถ้าใช้ไม่เป็น ทำไมไม่หัดให้เป็น พื้นฐานในการใช้งานก็มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เวอร์ชั่นใหม่จะมีอะไรเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงมาไม่กี่อย่างหรอกครับ เรื่องเวอร์ชั่นของโปรแกรมเดี๋ยวเอาไว้คุยกันในคราวหน้าดีกว่า เพราะคิดว่าคงยาวแน่ๆ ถ้าคุยเรื่องนี้

ต้องยอมรับครับว่า การใช้งานโปรแกรมได้หลากหลาย จะได้เปรียบชาวบ้านเค้า เพราะถ้าเราทำงานได้หลายโปรแกรม เราก็มีเครื่องมือที่จะสร้างสรรงานออกมาได้มีชีวิตชีวา และตอบสนองภาพในหัวเราที่จะถ่ายทอดออกมาในงานได้ใกล้เคียงยิ่งขึ้น

กราฟิกดีไซน์เนอร์ของงานสิ่งพิมพ์นั้น จำเป็นต้องใช้งานโปรแกรมอะไรได้บ้าง

  • Indesign โปรแกรมนี้ใช้สำหรับจัดหน้างานสื่อสิ่งพิมพ์ได้เป็นอย่างดี ทั้งหนังสือ โบร์ชัวร์ แผ่นพับ และบางครั้งก็ใช้ทำงานป้ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ลืมบอกไปอีกอย่างครับคือ ใช้ทำ e-book หากจะอธิบายบุคลิกของโปรแกรมนี้ให้เห็นภาพโดยรวมง่ายๆ ก็คือ เป็นโปรแกรมที่เอาข้อมูลต่างๆ มาประกอบเป็นงานขึ้นมา โดยจะมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่เน้นไปทางการจัดการเกี่ยวกับ Text ตัวหนังสือ และการจัดวางองค์ประกอบ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำกราฟิกอื่นๆ ไม่ได้เลย เพราะเรายังสามารถใส่ลูกเล่น สร้างรูปร่างวัตถุ ใส่เงา ใส่ขอบ และอื่นๆ ได้อีกเยอะพอสมควร หากคิดจะทำงานเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรมนี้ต้องใช้งานได้อย่างชำนาญครับ ไปสมัครงานที่โรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ โอกาสที่จะได้งานมีสูงครับ
  • Photoshop คงไม่ต้องบอกอะไนมากกับโปรแกรมนี้ หลายคนเป็นโปรแกรมนี้โปรแกรมแรก (รวมถึงผมด้วย) ใช้จัดการกับรูปต่างๆ ที่จะเอามาจัดวางใน Indesign หรือจะเป็นงานที่จบใน Photoshop อย่างเช่น ปกหนังสือ โปสเตอร์ ที่มีตัวหนังสือไม่เยอะจนเกินไป (ถ้าเยอะ แนะนำให้ใส่ Text ใน Indesign จะดีกว่า)
  • Illustrator โปรแกรมนี้จะใช้กับงานที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น งาน Vector ต่างๆ Icon Logo งานฝีมือ งานที่เป็นลักษณะ ชิ้นเดียวจบ ไม่ใช่งานที่ทำเป็นปริมาณมาก เช่น หนังสือ ใครที่ใช้โปรแกรมนี้ทำหนังสือ ขอบอกไว้เลยนะครับว่า คุณกำลังสร้างงานที่มีปัญหาตามมาอีกเยอะ
  • Adobe Acrobat Pro โปรแกรมนี้ไม่ใช่เอาไว้จัดหน้างานหรือทำส่วนของ Artwork แต่จำเป็นต้องเข้าใจการทำงานของโปรแกรมด้วย ซึ่งเป็นส่วน Output ในเรื่องของการส่งงานเพื่อตรวจ proof พิสูจน์อักษร การออกฟิล์มทำเพลท การทำ e-book หรือแม้กระทั่งการ Print ออกเครื่อง Printer โปรแกรมนี้มีบทบาทอย่างมาก และทำให้อะไรๆ ง่ายขึ้นครับ
4 โปรแกรมนี้ ผมเปิดใช้งานทุกวัน บางครั้งก็เปิดใช้งานทั้ง 3 โปรแกรมใช้เวลาเดียวกัน ส่วนโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้งาน จะเป็นพวก Plugin ต่างๆ หรือโปรแกรมเสริมที่ช่วยจัดการส่วนต่างๆ ให้เร็วขึ้น เช่น โปรแกรมทำรูปถ่ายให้เป็นภาพวาด โปรแกรมรวมรูปหลายๆ รูปให้เป็นรูปเดียว เหล่านี้จะช่วยปรหยัดเวลาในการทำงานครับ แต่สุดท้ายก็มาจบที่ 4 โปรแกรมที่กล่าวไว้ข้างต้น
ความเชี่ยวชาญ เกิดขึ้นมาจากการฝึกฝน ไม่มีทางลัดครับ

1 comments:

Unknown said...

The weblog appears very appealing. It attracted a number of humans toward its patter of writing similarly to useful records added through this blog may be very useful for maximum of its readers. โรงพิมพ์หนังสือ